หากเอ่ยถึงแบรนด์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Apple, Starbucks, Nike, Louis Vuitton หรือแบรนด์อื่น ๆ เราจะสามารถนึกภาพขึ้นมาได้ว่า แต่ละแบรนด์มีภาพจำอย่างไร อย่าง Apple ที่เมื่อพูดถึงแบรนด์นี้ หลายคนก็มักจะนึกถึงโลโก้รูปแอปเปิลที่มีรอยแหว่ง ผุดขึ้นมาในความคิดอย่างแน่นอน ด้วยมีภาพจำที่ไม่ใช่แค่เหล่าสาวกของ Apple จะจำได้เท่านั้น แต่การันตีได้ว่าน้อยคนนักที่จะนึกไม่ออกว่าโลโก้ของ Apple นั้นคืออะไร ด้วยเป็นเพราะว่าแบรนด์ดัง ๆ เหล่านี้ ต่างก็ให้ความสำคัญกับแบรนด์ดิ้ง (Branding) เป็นหลัก ว่าแต่ Branding คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และคนที่คิดจะทำแบรนด์เป็นของตนเอง ทำไมถึงจะต้องรู้....ตามมาหาคำตอบกันเถอะ!
อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น ที่พูดถึงภาพจำเกี่ยวกับโลโก้ของแต่ละยี่ห้อนั้น สิ่งเหล่านั้นเราเรียกรวม ๆ ว่า “แบรนด์” โดยแบรนด์เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากสินค้าที่มีการบรรจุหีบห่อ และจำเป็นต้องมีการขนส่งเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง จึงต้องมีการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ไว้ที่ภาชนะบรรจุสินค้า รวมถึงการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ ยังช่วยทำให้เกิดความคุ้นเคยและไว้ใจในผลิตภัณฑ์ได้ ต่อมาชื่อของผลิตภัณฑ์จึงถูกนำมาใช้ในการโฆษณามากขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และอธิบายผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งผลพลอยได้ที่เกิดขึ้น กลับกลายเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้ผู้บริโภคได้หลายเท่าด้วยชื่อผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้น ๆ และทำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อในความเป็นแบรนด์มากกว่าซื้อตัวสินค้า ทั้งนี้ในปัจจุบันเราเรียกสิ่งนี้ว่า “ยี่ห้อ” หรือ “แบรนด์”
Branding คืออะไร สำหรับในส่วนของ แบรนด์ดิ้ง (Branding) คือ กระบวนการ ขั้นตอนของการออกแบบ การสร้างภาพลักษณ์ สร้างตัวตนขององค์กรหรือสินค้า บวกกับการสร้างจุดยืนของแบรนด์ รวมไปถึงการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้าของตนเอง โดยการสำรวจ รวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญ นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ผ่านนำเสนอออกมาเป็นเรื่องราวที่เข้าใจง่าย ถูกวิธี เพื่อสื่อสารออกไปสู่สายตาของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ทั้งทางด้านสื่อออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ว่าจะทั้งผ่านการออกแบบโฆษณา การเลือกสีหรือโลโก้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์กร โดยแบรนด์หรือตราสินค้าที่มีพลัง จะสามารถนำไปสู่ความสำเร็จทางการแข่งขันในตลาดได้ การสร้างแบรนด์ขึ้นมาสักหนึ่งแบรนด์ เราจึงควรให้ความสำคัญกับแบรนด์ดิ้งในลำดับต้น ๆ ไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ นั่นเอง
นอกจากคำถามที่ว่า Brand และ Branding คืออะไร เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังสนใจในการสร้างแบรนด์ ก็น่าจะเกิดคำถามต่อไปเช่นกันว่า ทำไมต้องทำ Branding?
1. ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลทำให้การทำการตลาดเป็นไปได้ยากมากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการรายย่อย การจะทำให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอด และมีกำไรกลายเป็นเรื่องที่ยากไปโดยปริยาย ดังนั้นทางรอดเดียวที่พอจะทำได้ นั่นคือการหาวิธีสร้างความแตกต่างหรือสร้างกลยุทธ์ให้กับแบรนด์ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจและเลือกซื้อสินค้าของเราได้มากกว่า
2. สินค้าในตลาดมีความหลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีมากขึ้น ซึ่งลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายอาจเกิดความสับสน และเกิดความเข้าใจผิดในการเลือกซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการทำ Branding ที่ดี จะเป็นเหมือนตัวช่วยในการตัดสินใจให้กับผู้บริโภคได้ง่าย หากแบรนด์ของเรามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว
3. ช่วยสร้าง Connection ทางธุรกิจ ด้วยธุรกิจที่จะเติบโตได้ดีในระยะยาวนั้นจำ เป็นจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น ทั้งจากเครือข่ายคู่ค้า เครือข่ายลูกค้า และเครือข่ายของพันธมิตรต่าง ๆ ทั้งนี้ผลที่ได้จะทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างและสามารถต่อยอดออกไปได้อีกหลากหลายทิศทาง
4. เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจสิ่งที่องค์กรต้องการจะสื่อออกไปได้ง่ายขึ้น โดยสามารถเข้าใจถึงความเป็นมา เรื่องราว และภาพรวมของแบรนด์ได้ชัดเจนกว่าการที่ไม่ได้ทำ Branding
5. ช่วยสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ผ่านกลยุทธ์ที่เลือกสรรนำมาใช้ให้สอดคล้องกับแบรนด์ อีกทั้งยังช่วยทำให้ผู้บริหารแบรนด์สามารถที่จะกำหนดทิศทางในการบริหารงาน วางแผนแบรนด์ให้ไปในแนวทางที่ควรจะเป็นได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นองค์ประกอบที่ดีของการทำ แบรนด์ดิ้ง ที่สำคัญ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดกับแบรนด์และองค์กรมีดังนี้
จากคำถามที่ว่า Branding คืออะไร แท้จริงแล้วนั้น หลาย ๆ คน อาจมีคำนิยาม อีกทั้งยังอาจมีคำตอบที่ต่างกันออกไปได้อีก แต่อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยทำให้เราพอจะเข้าใจเหตุผลที่ทำให้ Branding เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้มากขึ้น ด้วยเนื่องจาก Branding ไม่เพียงแค่เป็นการนำเสนอสินค้า การบริการให้กับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายหรือผู้ให้บริการผ่านผลิตภัณฑ์ การบริการ และส่งต่อไปยังผู้บริโภค ที่ช่วยให้เราได้รับความไว้วางใจ ความจงรักภักดี รวมถึงการคาดหวังประโยชน์ต่าง ๆ กลับคืนมา แถมยังอาจช่วยลดระยะเวลาในการเลือกซื้อของผู้บริโภคให้ลดน้อยลงได้อีกด้วย